เหล็กไวเมท
เหล็กไวร์เมช (Wire Mesh Steel) - สามารถเรียก ไวเมทก็ได้ เหล็กไวเมท คือ ตะแกรงเหล็ก ที่ทำจากเหล็กกล้านำมาเชื่อมติดกันให้เป็นตะแกรงเพื่อเสริมกำลังให้กับคอนกรีต โดยผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น นำมาทอติดกันเป็นผืน มีขนาดต่างๆ กันไปตั้งแต่ 3 มิลลิเมตรไปจนถึง 12 มิลลิเมตร
คุณสมบัติของเหล็กไวเมท
- สามารถรับแรงกระแทกและทนต่อแรงกดทับได้เป็นอย่างดี
- ตะแกรงมีความสม่ำเสมอเท่าๆ กันของช่องตาราง
- ประหยัดเวลาในการทำงาน
- มีให้เลือกหลายขนาดตามการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ตะแกรงไวเมทตั้งแต่ 6 มม. สามารถนำไปใช้ปูถนนได้เพราะรับน้ำหนักได้ดี
เหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คืออะไร ?
เหล็กไวร์เมช ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อนสร้าง เนื่องจากมีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี จึงสามารถรับแรงกระแทกและแรงอัดจากการกดทับของนำ้หนักมากๆ ได้ดี และเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีต อีกทั้งระยะห่างตะแกรงที่มีขนาดเท่ากันสม่ำเสมอ ยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้เกิดการแตกร้าวได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยประหยัดแรงงานและเวลาการก่อสร้างได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการผูกเหล็กเส้นแบบเดิมๆ
เหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) สามารถนำไปใช้ทำอะไรบ้างในงานก่อสร้าง?
- ทำถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน ถนนหลักที่ใช้สัญจรทั่วไป : เพราะมีคุณสมบัติรับแรงกระแทกและแรงอัดจากการกดทับของนำ้หนักมากๆ ได้ เนื่องจากมีกำลังคลาทสูง อีกทั้งยังช่วยให้คอนกรีตเกาะตัวกันได้มากขึ้น ไม่แตกง่าย จึงนิยมใช้ไวร์เมชเสริมแรงคอนกรีตของถนนต่างๆ ที่มีต้องรองรับน้ำหนักมาก โดยเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 -12 มม. ยิ่งขนาดใหญ่มากก็สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้นไป
- ใช้ปูฉนวนกันความร้อนของงานฝ้าและหลังคา : วัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนของหลังคาหรือฝ้านั้น ก็คือ เหล็กไวร์เมช ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กัลวาไนซ์ไวร์เมช (Galvaniaze Wire Mesh) ซึ่งเป็นตะเแกรงเหล็กไวร์เมชเคลือบสารกัลวาไนซ์ ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนใต้แป ของหลังคาซีเม็นต์หรือเมทัลชีตได้เป็นอย่างดี
- ใช้ปูพื้นบ้านพื้นอาคารทั่วไป : นิยมใช้ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3.6 มม. ตารางตั้งแต่ 10x10 ซม. – 30x30 ซม. นอกจากนั้นยังใช้ปูพื้นลาดจอดรถหรือพื้นโรงงาน ที่ต้องการพื้นที่รองรับน้ำหนักมากๆ ได้ดี จึงเลือกใช้ ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตารางตั้งแต่ 10x10 ซม. – 30x30 ซม.
นอกจากนั้น เหล็กไวร์เมช ยังสามารถนำมาใช้เสริมกันแตกร้าวสำหรับพื้นสำเร็จ, งานผนังรับแรง, กำแพงกันดิน และงานท่อคอนกรีต ได้อีกด้วย และจากตัวอย่างของการนำไปใช้งาน ก็จะพอทราบว่าไวร์เมชมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงาน และในความจริงนั้นไวร์เมชยังมี 2 ประเภท ให้เลือกใช้งานที่แตกต่างกันอีกด้วย
ตะแกรง “เหล็กไวร์เมช” มี 2 ประเภทดังนี้ (แบ่งตามลักษณะการใช้งาน)
- ตะแกรงไวร์เมชสำหรับงานเทพื้นคอนกรีต : ซึ่งก็คือตะแกรงเหล็กไวร์เมชธรรมดาที่ใช้สำหรับวางรองก่อนการเทพื้น เพื่อเสริมความแข็งแรงให้พื้นคอนกรีต ซึ่งลักษณะของตะแกรงชนิดนี้จะมีทั้งแบบเหล็กข้ออ้อยและเหล็กกลม แล้วแต่จะเลือกใช้งาน
- ตะแกรงกัลวาไนซ์ไวร์เมช (Galvaniaze Wire mesh) : ก็คือตะแกรงเหล็กไวร์เมชที่ชุบเคลือบสารที่ชื่อกัลวาไนซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติกันความชื้น กันสนิมและกันการผุกร่อนได้ดี ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ในงานรองฉนวน ฝ้า เพดาน หรือโครงสร้างที่ต้องการโชว์ผังเหล็ก โดยไม่ต้องเสียเวลาและเงินค่าทาสีกันสนิมเพิ่ม
นอกจากนั้นยังสามารถแบ่งประเภทของ ตะแกรง “เหล็กไวร์เมช” ได้ตามรูปแบบได้อีก 2 ประเภทคือ
- ไวร์เมชแบบม้วน : จะผลิตจากลวดเหล็กกล้าเส้นเล็ก ขนาดตั้งแต่ 3-4 มิลลิเมตร จึงสามารถม้วนหรืองอได้ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในงานเสริมคอนกรีตพื้นบ้านหรือโรงจอดรถของบ้าน ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป
- ไวร์เมชแบบแผง : ตะแกรง เหล็กไวร์เมช ชนิดนี้จะทำจากเหล็กกล้าเส้นใหญ่เป็นข้ออ้อย เริ่มต้นที่ขนาด 6 มิลลิเมตรขึ้นไป เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เช่น ถนนคอนกรีตสำหรับการสัญจรบนท้องถนน, ลาดจอดรถห้างสรรพสินค้า, ลานจอดเครื่องบินหรือพื้นโรงงานอุนชตสาหกรรมและคลังสินค้า จึงต้องการความแข็งแรงที่มากขึ้นจากขนาดของตะแกรงไวร์เมช
ข้อดีของตะแกรง “เหล็กไวร์เมช” ที่อุตสาหกรรมการก่อสร้างเลือกใช้ มีอะไรบ้าง?
✔ ช่วยประหยัดเงินและแรงงาน : เพราะงานก่อสร้างพื้นปูนคอนกรีตแบบดั้งเดิมนั้น หากต้องการจะเสริมความแข็งแรงให้คอนกรีต ก็จะต้องใช้เหล็กเส้นมาผูกติดกันเป็นตะแกรงวางรองก่อนการเทปูน และอย่างที่เรากล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าตะแกรง เหล็กไวร์เมช มาช่วยประหยัดแรงงานในการผูกเหล็กแบบเดิมๆ จึงทำให้ช่วยประหยัดเงินค่าแรงงานเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นไวร์เมชสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดและจำนวนที่ต้องการ จึงไม่เสียเศษเหล็กไปเปล่าประโยชน์ด้วย
✔ ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น : เนื่องจากตะแกรง เหล็กไวร์เมช เพราะเป็นตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปที่ใช้งานได้เลยทันที ช่วยลดระยะเวลาในการตัดและผูกเหล็กจึงช่วยให้งาน ทั้งการเทพื้นบ้าน พื้นถนนหรือลานจอดรถ เสร็จเร็วมากนั่นเอง
✔ นำไปใช้งานได้หลากหลาย : แม้จะนิยมนำไปใช้เสริมคอนกรีตในงานทำถนนต่างๆ ใช้ปูฉนวนกันความร้อนของฝ้าหรือหลังคา อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เสริมกันแตกร้าวสำหรับพื้นสำเร็จ, งานผนังรับแรง, กำแพงกันดินหรือสามารถดัดขึ้นรูปได้ง่ายเพื่อการใช้งานอื่นๆ เช่น ขั้นบันไดหรืองานท่อคอนกรีต เป็นต้น
✔ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้เกิดการแตกร้าวได้ง่าย : เพราะตะแกรงไสร์เมชมีระยะห่างตะแกรงที่มีขนาดเท่ากันสม่ำเสมอ จึงทำให้มีความแข็งแรงเท่ากันซึ่งมีส่วนช่วยให้พื้นคอนกรีตไม่แตกง่าย จึงช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานมากขึ้น
การเลือกซื้อตะแกรง “เหล็กไวร์เมช” คุณภาพดี ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง?
- ต้องได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าจากมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ (มอก.) ซึ่งมี 3 ประเภท ดังนี้ มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต, มอก.943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต และมอก.737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต
- ขนาดพื้นที่ของงาน ก่อนที่คุณจะซื้อตะแกรง เหล็กไวร์เมช เพื่อไม่ให้ขาดเหลือมากจนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เสียเงินเสียเวลาการทำงาน ก็ควรจะต้องควนวัดขนาดของพื้นที่ก่อนว่าพื้นที่ของหน้างานนั้นมีขนาดเท่าใด เพื่อจะได้สั่งไวร์เมชได้ขนาดและจำนวนที่เหมาะสมกับการใช้งาน
- ลักษณะการนำไปใช้งาน อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าตะแกรงไวร์เมช มีหลายขนาดและการเลือกนำไปใช้งานแต่ละประเภทนั้น มีความจำเป็นในการเลือกขนาดของเส้น เหล็กไวร์เมช เช่น ตะแกรงเหล็กขนาด 3-4 มม. เหมาะสำหรับงานที่รับน้ำหนักไม่มาก อย่างพื้นบ้านหรือโรงจอดรถในบ้าน หรือตะแกรงเหล็กขนาด 6-9 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ อย่าง ลาดจอดรถ, ลานจอดเครื่องบิน หรือพื้นโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เป็นต้น