เหล็กรางรถไฟ

เหล็กรางรถไฟหรือเรียกว่าเหล็กรางเดินเครน

เหล็กรางรถไฟ เป็นเหล็กรางที่มีความทนทานต่อการรับน้ำหนักและแรงเสียดทานสูง
เหมาะกับนำไปใช้ในการทำรางเดินเครนหรือรอก, ทำรางรถไฟ, ทำแท่นเครื่อง
มีจำหน่ายหลายขนาด ราคาไม่แพง
 

 

เหล็กรางรถไฟ (Light Rail Steel) หรือเหล็กรางเดินเครน (Crane Rail Steel) เป็นเหล็กที่มีลักษณะหน้าตัดคล้ายกับตัวอักษรไอ (工) ที่มีส่วนฐานบนมีความกว้างกว่าฐานล่าง จัดอยู่ในหมวดหมู่ของเหล็กรูปพรรณ เนื่องจากผ่านกระบวนการแปรรูป ด้วยการรีดร้อนให้เกิดรูปทรงตามที่กำหนด โดยเหล็กรางรถไฟ เป็นเหล็กรูปพรรณที่มีลักษณะที่เน้นการใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การนำไปใช้งานเป็นรางรถไฟ รางทางวิ่งของรถขนของ รางเครน รอก และแท่นเครื่อง เป็นต้น

เหล็กรางรถไฟ หรือเหล็กรางเดินเครน ผลิตจากเหล็กกล้า (Steel) ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง ทนทาน รับแรงกระแทกและแรงเสียดทานได้ดี อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักได้มาก ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการขนย้ายสินค้าขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก หรือการขนส่งผู้คนจำนวนมากได้

คุณสมบัติของเหล็กรางรถไฟ

เหล็กรางรถไฟ หรือเหล็กรางเดินเครน เป็นเหล็กกล้าแบบเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง กล่าวคือ มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบอยู่ที่ประมาณ 0.7 - 0.8% และผสมด้วยส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น แมงกานีส ซิลิคอน นิกเกิล โครเมียม โมลิบดีนัม และวาเนเดียม เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบธาตุผสมจะถูกควบคุมปริมาณให้เหมาะสม เพื่อให้ได้เหล็กรางรถไฟที่มีคุณสมบัติตามต้องการ

เหล็กรางรถไฟมีความต้านทานแรงดึงสูงสุด อยู่ระหว่าง 7,000 - 13,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ขึ้นอยู่กับค่าส่วนผสมของคาร์บอนในเนื้อโลหะเป็นตัวแปรหลัก ทำให้เหล็กรางรถไฟมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักและแรงเสียดทานได้สูง แต่ก็ยังมีความยืดหยุ่น นำมาเชื่อมต่อกันได้ง่าย นอกจากนี้เหล็กรางรถไฟยังเป็นเหล็กที่เกิดสนิมได้ยาก จึงนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลายได้

ประเภทของเหล็กรางรถไฟ

สามารถแบ่งประเภทของเหล็กรางรถไฟได้ตามน้ำหนักต่อเมตรของราง ยิ่งมีน้ำหนักต่อเมตรมาก จะทำให้รับน้ำหนักได้มาก และเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้เหล็กรางรถไฟในแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานในการรับรอง เช่น AREMA, BS, JIS, UIC, DIN, GB, AECE เป็นต้น โดยรางแต่ละประเภทนั้นจะซึ่งการเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของการใช้งานที่ต้องการ

สามารถแบ่งประเภทของเหล็กรางรถไฟได้ดังนี้

  • เหล็กรางรถไฟ ประเภทรางหนัก (Heavy Rail Steel) มีน้ำหนัก 43-75 กิโลกรัม/เมตร ขึ้นไป สามารถรองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 10 - 10,000 ตัน ใช้สำหรับทางวิ่งของรถไฟขนส่งมวลชน (Railway Track)

  • เหล็กรางรถไฟ ประเภทรางเบา (Light Rail Steel) มีน้ำหนักต่ำกว่า 43 กิโลกรัม/เมตร ใช้สำหรับวางเส้นทางขนส่งชั่วคราว ใช้ในพื้นที่เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม และไซต์ก่อสร้าง

  • เหล็กรางรถไฟ ประเภทรางเครน (Crane Rail Steel) เป็นเหล็กที่มีความเฉพาะเจาะจง เพราะจะต้องมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้เป็นอย่าง มีความยาวน้อยกว่า 2 รูปแบบแรก สามารถนำไปใช้ในงานเป็นรางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ และเครื่องจักรต่าง ๆ

ขนาดและความหนาของเหล็กรางรถไฟ

ลำดับ ขนาดเหล็กรางรถไฟ ความหนาของเหล็กรางรถไฟ
1 GB (30 กก.) 60 x 107 - รางรถไฟ
2 GB (22 กก.) 50 x 93 - รางรถไฟ
3 GB (9 กก.) 2"1/2 x 1"1/4  - รางรถไฟ
4 GB (12 กก.) 38 x 70 - รางรถไฟ
5 GB (6 กก.) 2" x 1" - รางรถไฟ
6 GB (15 กก.) 42 x 80 - รางรถไฟ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกเหล็กรางรถไฟ

  • เหล็กรางรถไฟที่นำมาใช้งานจะต้องมีการรับรองมาตรฐานตามมาตรฐานสากล มีรายละเอียด หรือเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏชัดเจน
  • เหล็กรางรถไฟที่นำมาใช้จะต้องกำหนดจุดประสงค์การใช้งานให้ชัดเจน และมีการคำนวณแรงในการรับน้ำหนัก หรือการต้านแรงเสียงทานที่เหมาะสม
  • เหล็กรางรถไฟจะต้องมีรูปทรงที่เป็นไปตามมาตรฐาน มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไอที่มีฐานบนกว้างกว่าฐานล่าง
  • เหล็กรางรถไฟจะต้องมีขนาดหนาและความยาวที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุเอาไว้
  • เหล็กรางรถไฟจะต้องมีความทนทานต่อการรับน้ำหนักและแรงเสียดทานสูง
  • เหล็กรางรถไฟต้องไม่มีร่องรอยของสนิม
  • ซึ่งการเลือกใช้ขนาดนั้นจำเป็นต้องปรึกษาและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคัดเลือกขนาดและความหนาไปใช้งานให้เหมาะสม ทั้งนี้ควรมีการคำนวณ
  • การรับน้ำหนักด้วยหลักวิศวกรรม เพื่อความปลอดภัยในการก่อสร้าง รวมไปถึงการใช้งานในระยะยาวอีกด้วย