เหล็กแบนกับงานก่อสร้าง
สำหรับสายช่างหรือใครก็ตามที่กำลังเริ่มสร้าง,ต่อเติมบ้าน อาจจะเคยคุ้นกับเหล็กแบน (Flat bar) รวมถึงผ่านตากันมาอยู่บ้างแล้ว เหล็กแบนจะมีลักษณะตามชื่อคือเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจมีทั้งเหล็กแบน และเหล็กแบนรีด ซึ่งเหล็กชนิดนี้สามารถนำมาใช้กับงานก่อสร้างหรือสามารถไปประยุกต์ใช้กับงานชนิดไหนได้บ้าง ลองมาทำความรู้จักกัน
เหล็กแบนจะผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง ทนต่อแรงยืดแรงพับได้ค่อนข้างดี มีขนาดและความหนาเท่ากันทั้งเส้น ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า การนำมาใช้งานสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้หลากหลาย นำมาตัดขนาดได้ตามที่ต้องการ โดยอาจเรียกได้ทั้งเหล็กแบนรีด/แบนตัด ซึ่งมาจากการผลิตที่ทำให้จำแนกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ
- เหล็กแบนรีด เนื่องจากการผลิตที่ต้องรีดร้อนหรือรีดเย็น มีความหนาเท่ากันตลอดเส้น
- เหล็กแบบตัด แน่นอนว่ามาจากการผลิตที่ตัดจากม้วนเหล็ก ให้เป็นเส้นแบนๆ
ดังนั้นความแตกต่างของเหล็กแบนทั้ง 2 แบบก็คือเหล็กแบนตัดจะมีหน้าตัดด้านข้างที่ค่อนข้างคมกว่าเหล็กแบนรีด การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งาน
เหล็กแบนใช้งานอย่างไร?
- การใช้งานส่วนใหญ่ จะเป็นขนาด 3 มิลลิเมตร โดยมีความยาวแบบมาตรฐานที่ 6 เมตร
- เหล็กแบนที่ได้มาตรฐานจะได้รับการรับรองจาก JIS/DIN/ASTM
- เหล็กแบนที่มีคุณภาพจะต้องมีความเหนียว ทนแรงยืดแรงพับได้ดี และมีขนาดต่างๆ กันไป อาจมีหน้ากว้างตั้งแต่ 20 mm - 750 mm และความหนาตั้งแต่ 3 mm - 25 mm
เหล็กแบนกับงานก่อสร้าง
โดยคุณสมบัติทั่วไปจะนิยมใช้สำหรับงานเชื่อมทำเหล็กดัด ทำแหนบรถยนต์ งานฝาท่อ ตัดทำเหล็กแซกเพิ่มความแข็งแรงกับเหล็กประเภทอื่น หรือใช้ประกอบเป็นชิ้นงานกลึงได้เช่นกัน รวมถึงงานชิ้นส่วน เครื่องจักรต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังสามารถใช้งานประเภทอื่นๆ ดังนี้
- นำมาสร้างลวดลายของรั้วระเบียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกับการทำเหล็กดัด โดยนำเหล็กแบนมาเชื่อม 45 องศาเพื่อทำฉากบังตา
- เหล็กแบนตัดสามารถนำมาเป็นชิ้นส่วนในงานก่อสร้างอีกหลายๆ อย่าง ส่วนใหญ่ใช้ในงานตกแต่งเพราะรูปแบบของเหล็ก ที่ขึ้นรูปแบบเส้นแบน จึงทำให้ตัด พับ ได้ง่ายกว่าเหล็กแผ่นดำ
- สำหรับงานโครงสร้างทั่วไปที่วัสดุเป็นเหล็ก เช่น งานเชื่อมเหล็กดัด งานกลึงนอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน
การประยุกต์ใช้เหล็กแบน
นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังสามารถใช้เหล็กแบน DIY ร่วมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ ไม่ว่าจะเป็น
- ทำขาเก้าอี้ ขาโต๊ะ
- ราวบันได ซึ่งการใช้งานจะไม่ใช่การพับ แต่เป็นการตัดให้ได้มุมแล้วเชื่อมเพื่องานที่เนี้ยบมากขึ้น เก็บงานเก็บรอยให้สวยและทาสีเพื่อปิดรอย
- ชั้นวางของ ที่ต้องเลือกการรับน้ำหนักให้เพียงพอต่อการใช้งานหรือควรมีโครง
- เพื่อรับน้ำหนัก หรือควรวางเหล็กแนวตั้งเพื่อให้รับแรงได้ดี
- ทำกรง โดยเลือกหน้ากว้างที่ไม่มากและเชื่อมเหล็กเข้าด้วยกัน
วัสดุที่ใช้การตัดเหล็กแบน
เนื่องจากการใช้งานจะต้องมีการตัดเพื่อเชื่อม หรือประกอบกับส่วนอื่นๆ หลากหลายรูปแบบ จึงต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดเหล็กแบนให้ได้ขนาดและรูปแบบตามที่ต้องการ หากเป็นเหล็กที่ไม่ได้หนามาก อาจใช้เลื่อยตัดเหล็ก หรือเลื่อยมือได้ ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน เช่น อาจใช้เครื่องมือเหล่าในกับชิ้นงานไม่มาก จำนวนหลักสิบ ใช้คีมล็อคและตัดตามต้องการ
แต่หากมีการใช้งานเหล็กแบนจำนวนมาก หรือปริมาณหลักร้อย ควรใช้เครื่องมือไฟฟ้าเพื่อทุ่นแรง เช่น แท่นตัดไฟเบอร์, หินเจียร (ลูกหมู), เครื่องตัดแผ่นเหล็ก - เครื่องตัดเหล็กไฮดรอลิก เป็นต้น
ข้อควรระวังของการใช้เหล็กแบน
อย่าลืมหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำก่อนใช้งาน หากมีการชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่หรือถ้าซ่อมแซมได้ควรรีบซ่อมทันที หลังจากใช้งานแล้วควรเก็บเหล็กแบนให้เรียบร้อย และที่สำคัญคือเก็บให้ห่างจากเปลวไฟ
ทีนี้ก็สามารถเลือกใช้เหล็กแบนตามความเหมาะสมของคุณสมบัติในงานก่อสร้าง รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้หากต้องการทำอุปกรณ์ ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ รวมถึงการทำราวบันได แนวพรางสายตา เป็นต้น ซึ่งการเลือกซื้อสามารถระบุความกว้าง ความหนา ขนาดที่ต้องการได้เลย และราคาก็จะมีความแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะนำมาเชื่อม มาดัด ก็เหมาะใช้งานได้ทั้งหมด
สนใจสั่งซื้อเหล็กแบน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ไวต้า ธานี จำกัด
Tel : 094-4122337 (สายด่วน)
E-mail : vita.steel18@gmail.com
LINE : https://line.me/ti/p/%40edo4950u
Facebook : บจก.ไวต้า ธานี