ทำความรู้จักกับเหล็กเส้นประเภทต่าง ๆ
ความคงทนให้กับสิ่งก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดปัญหาการทรุด การเอียง หรือการถล่มของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมหรือภัยธรรมชาติที่ไม่คาดฝัน เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ฺโดยทั่วไปแล้ว เหล็กที่ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามคุณสมบัติและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ เหล็กเส้น หรือเหล็กเสริม (Reinforcing Steel) และ เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) ซึ่งเหล็กแต่ละประเภทนั้นยังสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกหลากหลายชนิด โดยวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปเจาะลึกกับเรื่องราวของ “เหล็กเส้น” ว่า เหล็กเส้นคืออะไร เหล็กเส้นมีกี่ประเภท และเหล็กเส้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างได้อย่างไรบ้าง ?
เหล็กเส้น คืออะไร?
เหล็กเส้น (Reinforcing Steel) หรือที่ช่างก่อสร้างและผู้รับเหมาส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อของ เหล็กเสริม เป็นเหล็กเส้นตรงยาวที่มีหน้าตัดเป็นลักษณะกลม โดยทั่วไปแล้วนิยมนำมาใช้สำหรับงานก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร คอนโดมิเนียม หรือนำมาใช้สำหรับการเสริมความแข็งแรงสำหรับงานคอนกรีต งานถนน หรืองานสะพานต่างระดับ เพื่อช่วยให้โครงสร้างเหล่านี้มีความมั่นคงและมีความคงทนต่อแรงดึงและแรงอัดได้เป็นอย่างดี
ประเภทของเหล็กเส้น
เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
เหล็กเส้นกลม (Round Bar) หรือที่นิยมเรียกกันอีกอย่างว่า เหล็กเส้น RB เป็นเหล็กเส้นที่ลักษณะหน้าตัดกลม และลักษณะพื้นผิวที่เรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยปริแตก ไม่มีปีก ไม่เบี้ยว และไม่มีลูกคลื่น ตลอดความยาวของเส้น อีกทั้งยังคุณสมบัติที่คงทน แข็งแรง และสามารถรับแรงดึงที่จุดครากได้ประมาณ 2400 ksc. หรือชั้นคุณภาพ SR24 จึงทำให้เหล็กเส้นกลมเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการยึดเหนี่ยวและถ่ายแรงระหว่างเหล็กและคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โดยทั่วไปแล้ว วิศวกรและช่างก่อสร้างจึงมักจะนิยมนำเหล็กเส้นกลมมาใช้เป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้างต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ปลอกเสา ปลอกคาน โครงถนน หรือตะแกรงเหล็กสำหรับงานพื้น รวมไปถึงนำมาใช้ในงานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว เหล็กเส้นกลมที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ 6 - 25 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการในการใช้งาน ดังนี้
- เหล็กเส้นกลม ขนาด 6 มม. (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) และเหล็กเส้นกลม ขนาด 9 มม. (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานก่อสร้างที่ไม่ต้องรับแรงมาก อย่างเช่น ปลอกเสา และปลอกคาน เป็นต้น
- เหล็กเส้นกลม ขนาด 12 มม. (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่ต้องการเน้นในด้านของการยึดเกาะ อย่างเช่น งานกลึงหัวนอตต่าง ๆ เป็นต้น
- เหล็กเส้นกลม ขนาด 19 มม. เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานถนน
- เหล็กเส้นกลม ขนาด 25 มม. เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับใช้ในการยึดโครงป้ายขนาดใหญ่
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar) หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อเหล็กเส้น DB เป็นเหล็กเส้นกลมที่มีลักษณะเป็นบั้ง ซึ่งมีระยะห่างที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น และไม่มีสนิม รอยตำหนิ รอยปริ หรือรอยแตกร้าว โดยลักษณะพื้นผิวที่เป็นมีความเป็นปล้องอยู่ตลอดเส้นของเหล็กข้ออ้อยนี้จะช่วยเสริมกำลังให้เหล็กข้ออ้อยสามารถยึดเกาะกับเหล็กและปูนได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม โดยเหล็กข้ออ้อยจะมีกำลังในการรับแรงดึงที่จุดครากอยู่ที่ประมาณ 3000, 4000, 5000 ksc. หรือชั้นคุณภาพ SD30, SD40, SD50 ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าเหล็กเส้นกลม จึงทำให้เหล็กข้ออ้อยสามารถรองรับน้ำหนักได้ดีมากกว่านั่นเอง
สำหรับการเลือกนำเหล็กเส้นข้ออ้อยมาใช้งานนั้น ส่วนใหญ่แล้วเหล็กเส้นข้ออ้อยเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในงานก่อสร้างขนาดกลางขึ้นไป อย่างเช่น งานก่อสร้างอาคารสูง บ้านพักที่อยู่อาศัย หรือคอนโดมิเนียม ตลอดจนงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมากเป็นพิเศษ อย่างเช่น เขื่อน ถนน สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือตึกระฟ้าที่มีความสูงมากกว่าตึกปกติ เป็นต้น โดยที่การเลือกชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างเป็นสำคัญ สำหรับเหล็กข้ออ้อยที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดโดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 12 มม. และ 16 มม. หากต้องการเหล็กข้ออ้อยขนาดอื่น ๆ เช่น 10, 20, 25 หรือ 28 มม. มาใช้งานจำเป็นจะต้องสั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ
เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)
เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar) ถือเป็นเหล็กเส้นที่มีลักษณะหน้าตัดกลมอีกชนิดหนึ่ง แต่จะมีการใช้สัญลักษณ์แทนว่า SRR 24 เนื่องจากลักษณะพื้นผิวของเหล็กรีดซ้ำนั้นจะไม่เรียบสนิทเท่ากับเหล็กเส้นกลม เพราะเหล็กรีดซ้ำถูกผลิตขึ้นมาจากเศษเหล็กที่ได้มาจากเข็มพืด (Sheet Pile), เหล็กแผ่นต่อเรือ, เหล็กรูปพรรณ, หรือเหล็กที่ถูกคัดออกมาระหว่างการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น ก่อนจะถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการรีดร้อนเพื่อรีดเหล็กเหล่านี้ให้กลายเป็นเส้นกลมสำหรับการนำมาใช้ในงานอื่น ๆ อีกครั้ง ส่งผลให้เหล็กรีดซ้ำจึงมีความคงทนแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเพียงแค่ในระดับหนึ่ง จึงทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในงานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง เท่านั้น
มาตรฐานของเหล็กเส้น
- เหล็กเต็ม หรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึง เหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กเส้นได้มาตรฐานตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.24-2559
- เหล็กเบา หรือเหล็กโรงเล็ก หมายถึง เหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กเส้นต่ำกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.24-2559 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเหล็กเบามักจะเป็นเหล็กเส้นประเภทเหล็กรีดซ้ำ ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากเหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
สำหรับบริษัท ผู้รับเหมา และช่างก่อสร้างที่กำลังมองหาเหล็กเส้นประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเส้นกลม, เหล็กข้ออ้อย, หรือเหล็กรีดซ้ำ มาใช้งาน บริษัท ไวต้า ธานี จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น และเหล็กรูปพรรณประเภทต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐาน และได้รับการยอมรับจากเหล่าวิศวกร สถาปนิก และผู้รับเหมาในวงการงานก่อสร้าง โดยเรามีศูนย์บริการลูกค้าอย่างทั่วถึง ทั้งภาคกลางและตะวันออก พร้อมบริการขนส่งที่รวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าทุกท่านได้รับความพึงพอใจในการบริการและสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าที่มีมาตรฐานอย่างดีที่สุด เพราะรากฐานที่ดีต้องมาจากวัสดุที่ดี หากเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับประเภทของงาน โครงสร้างต่าง ๆ และการใช้งาน ก็จะช่วยให้สามารถใช้งานเหล็กเส้น และเหล็กรูปพรรณประเภทต่าง ๆ ได้อย่างยาวนาน เต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่าคุ้มราคามากที่สุด