เหล็กรูปพรรณประเภทต่างๆ
เหล็กถือเป็นโครงสร้างสำคัญและเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ของวิศวกร นักออกแบบและสถาปนิก ด้วยความที่เหล็กโครงสร้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง อีกทั้งยังมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้เยอะ และมีความคุ้มค่าน่าใช้งาน ทำให้เหล็กเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมโครงสร้างทั่วโลกเลยก็ว่าได้
อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ต้องการใช้เหล็กมีอะไรบ้าง
- เพื่อสร้างอาคารสูง - เหล็กโครงสร้างมีความทนทานต่อแรงภายนอก เช่น ลมและแผ่นดินไหว แถมยังเป็นโลหะที่มีความยืดหยุ่น หากเกิดพายุหรือแผ่นดินไหวโครงสร้างที่เป็นเหล็กนั้นจะไม่ขาดหรือโค้งงอ ข้อดีอีกประการของเหล็กโครงสร้าง คือมีความคุ้มค่าด้วยความที่เหล็กโครงสร้างมีลักษณะที่พร้อมใช้งานทำให้สามารถย่นระยะเวลาในการก่อสร้างได้
- เพื่อสร้างอาคารที่พักอาศัย - อาคาร บ้าน ที่พักอาศัยต่าง ๆ โครงสร้างเหล่านี้ต้องการความคงทนต่อสภาพอากาศภายนอก ต้องสามารถทนต่อแรงลมหรือทนต่อภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ความมยืดหยุ่นของเหล็กโครงสร้างทำให้เหมาะสำหรับการก่อสร้างอาคารหรือบ้านด้วยเทคนิคที่เรียกว่าLight-Gauge Steel หรือโครงสร้างเหล็กขนาดเบาใช้ในการสร้างอาคารที่พักอาศัย
- เพื่อสร้างสะพาน - เหล็กมีความทนทานต่อน้ำหนัก หมายความว่าเหล็กเป็นโลหะที่ทนต่อน้ำหนักได้สูง สามารถรับน้ำหนักของรถยนต์และคนจำนวนมากๆ ได้ คุณสมบัติความคงทนเหล่านี้แหละที่นักออกแบบ วิศกร สถาปนิกต่างๆ ต้องการ เพื่อนำไปสร้างสะพานที่มีขนาดใหญ่ได้ และที่สำคัญเหล็กเป็นโครงสร้างที่ทนทานมากแม้จะผ่านไปกี่สิบปีก็ตาม
เหล็กรูปพรรณมีอะไรบ้างและมีความแตกต่างกันในเรื่องของการใช้งานอย่างไร
เหล็กเพลาขาว Cold Drawn Bar หรือเหล็กเพลากลมเป็นเหล็กที่มาจากกระบวนการการรีดร้อนและนำไปผ่านกรรมวิธีดึงเย็นอีกครั้ง เมื่อผ่านการดึงเย็นแล้วจะทำให้เหล็กเปลี่ยนจากสีเทาดำเป็นสีเทาเงินแทน จึงเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า เหล็กเพลาขาว นิยมนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เน้นเรื่องความกลม เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์ต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า หน้าต่าง รั้ว เตียง เป็นต้น
คุณสมบัติของเหล็กเพลาขาวที่เหนือกว่าเหล็กเพลาดำ
- มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางที่แม่นยำกว่าเหล็กเพลาดำ
- พื้นผิวและความตรงที่มากกว่าเหล็กเพลาดำ
- สามารถนำใช้งานได้สะดวกกว่าและมีความเรียบสม่ำเสมอมากกว่าเหล็กเพลาดำ
เหล็กแบน Flat Bar ลักษณะเหล็กจะแบนเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทนต่อแรงยืดแรงพับได้ดี นิยมนำมาใช้ในงานเชื่อมทำเหล็กดัด ฝาท่อ งานกลึงและงานชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ
คุณสมบัติของเหล็กแบน
- เหล็กแบนเกิดจากการรีดร้อนหรือรีดเย็นก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการนำไปใช้งาน
- มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว นิยมใช้ในงานเชื่อม ทำเหล็กดัด มีหลายขนาดให้เลือกใช้
- โดยทั่วไปนิยมใช้เหล็กแบนที่มีขนาด 3 มิลลิเมตร และมีความยาวมาตรฐานที่ 6 เมตร
- เหล็กแบนที่ได้มาตรฐานจะได้รับการรับรองจาก JIS/DIN/ASTM
เหล็กแป๊บแบนหรือเหล็กกล่อง - แบ่งเป็นเหล็กแป๊บแบนสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเหล็กแป๊บแบนสี่เหลี่ยมจตุรัส เหล็กทั้ง 2 ชนิดนี้เหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง โดยในตลาดการขายเหล็ก เหล็กกล่องนี้เป็นที่นิยมในการซื้อไปใช้งานค่อนข้างมาก เช่น สร้างบ้าน นั่งร้าน หรือประตู
คุณสมบัติของเหล็กแป๊บแบนหรือเหล็กกล่อง
- น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
- นำไปประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างอื่นๆ ได้
- ใช้ทดแทนไม้ได้
- ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง
- สามารถออกแบบโครงสร้างได้หลากหลาย เช่น นำไปดัดโค้ง หรือทำโครงสร้างโปร่งๆ ได้
- สามารถใช้ก่อสร้างในงานก่อสร้างที่มีพื้นที่จำกัดได้ดี
- สามารถนำมาหลอมแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ได้
เหล็กแป๊บโปร่ง - เหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่มีความกลวงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความยาว 6 เมตรต่อเส้น นำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น งานเสา งานคาน นั่งร้าน ประตู ชั้นวางของ ตลอดไปจนถึงรั้วบ้าน
คุณสมบัติของเหล็กแป๊บโปร่ง
- แข็งแรง ทนทาน
- น้ำหนักเบา
- ราคาถูก
- นำไปใช้งานได้หลากหลาย
เหล็กแผ่นเรียบหรือแผ่นสังกะสี - เป็นเหล็กที่ต้องผ่านกระบวนการเคลือบความร้อน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hot Dip Galvanize โดยประโยชน์ของการเคลือบคือ ป้องกันการเป็นสนิทนั่นเอง ทำให้เหล็กแผ่นเรียบมีความแข็งแกร่งและทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของเหล็กแผ่นเรียบหรือแผ่นสังกะสี
- ใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป การปูพื้น งานเชื่อมต่างๆ งานต่อเรือ และงานสร้างสะพานเหล็ก
- มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน
- ความหนาก็สามารถเลือกใช้ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน
- ควรเลือกซื้อเหล็กที่มีมาตรฐานรับรองจาก ASTM, DIN, JIS, EN, Lloyd’s, ABS, AS หรือ API เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน
เหล็กแผ่นตัดหรือเหล็กแบนตัด - คือการนำเหล็กแผ่นแบบรีดร้อนมาตัดให้ได้ขนาดตามความต้องการของผู้ใช้งานและสามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลายอีกด้วย เช่น ตะแกรง ประตูรั้ว วัสดุตกแต่งภายในบ้าน หรือสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
คุณสมบัติของเหล็กแผ่นตัดหรือเหล็กแบนตัด
- เหล็กแผ่นตัดจะมีด้านข้างที่คม
- มีให้เลือกใช้หลากหลายขนาดตามความต้องการของลูกค้า
- ขนาดกว้างเริ่มต้นที่ 12 มิลลิเมตร ความหนาที่ 3 มิลลิเมตรและยาว 6 มิลลิเมตร
- นิยมนำไปใช้ในงานเชื่อม งานเหล็กดัดหน้าต่าง งานฝาท่อ ราวบันได และแหนบรถยนต์
เหล็กโดเวลหรือเหล็กเดือย - คือเหล็กที่ใช้สำหรับการต้านแรงดึง แรงเฉือนที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนคอนกรีต โดยมีโครงสร้างหลักเรียกว่า Dowel (โดเวล) และโครงสร้างรองเรียกว่า หนวดกุ้ง ใช้เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดจากโครงสร้าง
คุณสมบัติของเหล็กโดเวลหรือเหล็กเดือย
- ใช้สำหรับยึดเสาเข็มหรือฐานราก
- ใช้ยึดเสากับคานหรือสามารถใช้ยึดพื้นกับคาน
- ใช้ยึดคานอะเสและคานจันทันในโครงสร้างหลังคา
- ใช้ยึดบันไดกับคานหรือผนังรับแรง
- ใช้ยึดแผ่นถนน
- ใช้ยึดชิ้นส่วนคอนกรีต
เหล็กไวร์เมช (Wire Mesh Steel) - สามารถเรียก ไวเมทก็ได้นะคะ เหล็กไวเมท คือ ตะแกรงเหล็ก ที่ทำจากเหล็กกล้านำมาเชื่อมติดกันให้เป็นตะแกรงเพื่อเสริมกำลังให้กับคอนกรีต โดยผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น นำมาทอติดกันเป็นผืน มีขนาดต่างๆ กันไปตั้งแต่ 3 มิลลิเมตรไปจนถึง 12 มิลลิเมตร
คุณสมบัติของเหล็กไวเมท
- สามารถรับแรงกระแทกและทนต่อแรงกดทับได้เป็นอย่างดี
- ตะแกรงมีความสม่ำเสมอเท่าๆ กันของช่องตาราง
- ประหยัดเวลาในการทำงาน
- มีให้เลือกหลายขนาดตามการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ตะแกรงไวเมทตั้งแต่ 6 มม. สามารถนำไปใช้ปูถนนได้เพราะรับน้ำหนักได้ดี
เหล็กไวรอทหรือไวร์รอท (Wire Rod) - คือเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนต่ำ นำไปรีดร้อนกึ่งสำเร็จรูป มีลักษณะหน้าตัดทรงกลม โดยทั่วไปมักจะนำไปดึงเย็นต่อเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น นำไปทำเป็นตะปู ลวดหนาม ตะแกรง น็อต สกรู แต่ไม่เหมาะในการนำไปใช้เป็นเหล็กเชื่อมเพื่อเสริมคอนกรีต
คุณสมบัติของเหล็กไวรอท
- เป็นเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำ
- สามารถนำไปใช้ในงานเชื่อมต่อ
- สามารถนำไปชุบเป็นลวดชุบสังกะสี หน้ากากพัดลม
- มีความเเข็งแรงทนทาน จึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด
- มีการนำไปใช้เป็นตะแกรงปิ้งย่าง กรงสุนัข กรงสัตว์ ไม้แขวนเสื้อ เหล็กปลอกเสา เหล็กปลอกคาน ตลอดไปจนถึงตะขอต่างๆ
เหล็กฉาก (Angel Bar) - คือเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดร้อน มีลักษณะเป็นตัวแอล โดยวิศวกรมักนำเหล็กชนิดนี้ไปใช้ในโครงสร้างงานเหล็ก เช่น โครงสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โครงหลังคาโรงงาน
คุณสมบัติของเหล็กฉาก
- เป็นเหล็กหน้าตัดรูปตัวแอล ที่มีมุมตั้งฉาก 90 องศา
- แข็งแรง ทนทานและมีน้ำหนักเบาแต่สามารถทนรับน้ำหนักโครงสร้างได้อย่างดี
- ประกอบติดตั้งหรือรื้อถอนได้ง่าย
- สามารถรื้อและนำกลับมาใช้งานได้ใหม่
- ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
เหล็กชุบ - หรือ Galvanize คือ เหล็กที่ขึ้นรูปแล้วนำมาชุบด้วยสังกะสี โดยการชุบด้วยสังกะสีนั้นจะสามารถป้องกันตัวเหล็กไม่ให้เกิดการกัดกร่อน และมีความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน
คุณสมบัติของเหล็กชุบ
- สามารถนำไปใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาทาสารป้องกันพื้นผิว
- ไม่จำเป็นต้องทาสารกันสนิม
- ประหยัดเวลาในการติดตั้งและประหยัดค่าทาเคลือบสารเคลือบกันสนิม
- มีอายุการใช้งานยาวนาน
- ทนทานแข็งแรงเทียบเท่าเหล็กรูปพรรณ
- ไม่เหมาะกับการใช้งานในระบบท่อขนส่งน้ำประปา
เหล็กตัวซี - C Light Lip Channel คือเหล็กรูปพรรณรีดร้อน มีหน้าตัดเป็นรูปตัวซี เหมาะกับงานโครงสร้างทั่วๆ ไปที่ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก เช่น หลังคา เสาค้ำยัน ที่อยู่อาศัย เหล็กตัวซีที่ได้มาตรฐานต้องผ่านการรับรองจาก มอก เท่านั้น
คุณสมบัติของเหล็กตัวซี
- ใช้สำหรับโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย โครงสร้างสะพานหรือหลังคา
- มีความแข็งแรง แต่น้ำหนักเบา
- ขึ้นโครงได้ง่าย เมื่อเทียบกับงานคอนกรีต
- สามารถควบคุมน้ำหนักของตัวโครงสร้างได้ง่าย
- สามารถนำมาต่อได้ยาวถึง 600 เมตร
- ทนต่อการกัดกร่อนและไม่จำเป็นต้องเคลือบสารกันสนิม จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก
เหล็กตัวที - หรือ Cut-T เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดร้อน Temp -Core หลังจากผ่านกระบวนการรีดร้อนให้ได้ตามมาตรฐานแล้วจะนำไปทำให้เย็นทันทีโดยการฉีดน้ำ
คุณสมบัติของเหล็กตัวที
- มีรูปทรงสวยงามเหมาะในการก่อสร้าง
- มีความแข็งแรงสูง
- ขนาดมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับงานที่นำไปใช้
- มีความคงทนต่อไฟ
- เหล็กตัวทีมีกระบวนการผลิตจากความร้อนจึงมีความแข็งแรงมาก ไม่เหมาะกับการนำไปดัด กลึง หรือนำมาลดขนาด
เหล็กบีม - เป็นเหล็กที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัว H แผ่นเรียบและมีความหนาเท่ากันตลอดทั้งเส้น มีขนาดของหน้าตัดให้เลือกหลายขนาด เช่น H100x50mm. จนถึงขนาดใหญ่สุด H900x300mm
คุณสมบัติของเหล็กบีม
- เหมาะกับการใช้งานทำเสาต่างๆ คาน โครงสร้างหลังคา อาคารขนาดเล็ก เช่น ร้านกาแฟ คาเฟ่ต่างๆ
- ปีกเหล็กยาวและเป็นเส้นตรง ทำให้มีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้ดี
- รับแรงกระแทกได้ไม่มาก
- เหมาะกับงานที่ใช้การออกแบบ
เหล็กปลอก - มีลักษณะเป็นเส้นกลมๆ ผิวเรียบ เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตชนิดหนึ่ง ใช้เสริมเสาหรือคานในโครงสร้างคอนกรีต โดยจะดัดเหล็กปลอกให้เข้ากับพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้าง โดยจะมีระยะห่างที่เท่าๆ กันตามที่วิศกรได้คำนวนออกมา
คุณสมบัติของเหล็กปลอก
- สามารถนำไปใช้ในการเสริมตามแนวขวางในเสาหรือคานเพื่อรองรับแรงเฉือน
- ช่วยยึดเหล็กเสริมเอกให้อยู่ในแนวตรงขณะที่มีการเทคอนกรีต
- ช่วยต้านการขยายตัวออกทางกว้างเมื่อต้องรับแรงบีบอัด
- สามารถรองรับแรงบีบอัดได้เป็นอย่างดี
เหล็กรางรถไฟ - หรือที่เรียกกันว่า เหล็กรางเดินเครน สามารถทนต่อการรับน้ำหนักและแรงเสียดทานที่สูงได้ เหมาะกับการนำไปใช้ในการทำรางรถไฟ รางเดินเครน แท่นเครื่อง
คุณสมบัติของเหล็กรางรถไฟ
- นิยมนำไปใช้ในงานรางเครนหน้าไซต์งานก่อสร้าง
- ได้รับความนิยมในหมู่ช่างทำมีด
- สามารถตีและขึ้นรูปได้ตามความต้องการ
- มีความต้านทานแรงดึงสูง
ตะแกรงเหล็ก - เหล็กที่มีลักษณ์เหมือนตะแกรง โดยการนำเหล็กเส้นมาสานหรือถักเชื่อมกัน เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ด้านต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า
คุณสมบัติของตะเเกรงเหล็ก
- ใช้สำหรับป้องกันนกไม่ให้เข้าไปในตัวอาคารหรือบ้านเรือน
- ใช้สำหรับงานรั้วต่างๆ รั้วบ้าน รั้วอาคาร ตลอดไปจนถึงรั้วสนามกีฬา
- ใช้สำหรับงานตกแต่ง เช่น ร้านอาหาร คาเฟ่
- สามารถใช้ทำเป็นชั้นวางของในโกดังได้
- ใช้เป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้
ตะแกรงฉีก - เป็นการนำส่วนผสมเหล็ก แสตนเลสหรืออลูมิเนียมที่เป็นแผ่นเรียบๆ มาเจาะและฉีกให้เป็นลักษณะเหมือนตาข่ายรูปทรงข้าวหลามตัด เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น นำไปปูพื้นทางเดิน เป็นตะแกรงสำหรับระบายน้ำ ทำรั้วหรือนำไปตกแต่ง
คุณสมบัติของตะแกรงฉีก
- มีความคงทนและแข็งแรงมาก
- ราคาถูก
- น้ำหนักเบาเมื่อนำไปเทียบกับตะแกรงเเผ่นเรียบ
- เหมาะกับงานปูพื้นทางเดิน หรือปูพื้นเพื่อให้รถวิ่ง หรือพื้นที่ไม่ต้องรับน้ำหนักที่มากนัก
- เหมาะกับงานตกแต่งทุกชนิด ทำที่บังตา ที่กันนกเข้าตัวอาคารเป็นต้น
ท่อกลมดำ - หรือเหล็กท่อกลมดำ มีลักษณะทรงกลมแต่กลวง น้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ทนทาน ทนแรงลมและเเรงเสียดทานได้ดี เหล็กท่อกลมเป็นหนึ่งในเหล็กรูปพรรณ เหมาะกับงานจำพวกเชื่อมต่อ
คุณสมบัติของท่อกลมดำ
- เหมาะกับงานก่อสร้างที่มีน้ำหนักไม่มากนัก เช่นใช้เป็นทำเป็นท่อประปา ระบบน้ำภายในอาคาร
- ใช้สำหรับงานขึ้นรูปโครงสร้างต่าง ๆ โดยเป็นงานที่รับน้ำหนักไม่ได้มากนัก เช่นโครงถัก หลังคา
- สามารถนำไปประยุกต์เป็นงานอื่น ๆ ได้อีก เช่น นำไปทำนั่งร้าน โครงถักป้ายจราจร ร้อยท่อสายไฟ รั้ว ประตู งานตกแต่งทั่วไป
ลวดผูกเหล็ก - วิธีการทำลวดผูกเหล็ก จะนำ Wire Rod มารีดด้วยกระบวนการรีดเย็น จนได้เส้นผ่าศูนย์กลางตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาอบด้วยเตาไฟฟ้าอีกที โดยมีอุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง เหมาะสำหรับนำไปผูกเหล็กคานหรือเสริมคอนกรีต
คุณสมบัติของลวดผูกเหล็ก
- แข็งแรงทนทาน แต่นิ่มทำให้นำไปใช้งานได้ง่าย
- มีขนาดลวดประมาณ 1.25 มิลลิเมตร สามารถนำไปผูกได้ง่ายและรวดเร็ว
- อายุการใช้งานยาวนาน
- นำไปผูกกับตะแกรงเพื่อเทคอนกรีต หรือนำไปผูกเหล็กติดกับเสาหรืออาคารได้
เหล็กรูปพรรณถือเป็นโครงสร้างหลักที่เหล่านักวิศกร สถาปนิก ช่าง และนักออกแบบทั้งหลายต้องใช้งาน การเลือกเหล็กแต่ละชนิดให้เหมาะกับงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะใช้ความแข็งแกร่งของเหล็กในการสร้างโครงสร้างต่าง ๆ แล้ว อายุการใช้งานของเหล็กแต่ละชนิดก็มีความสำคัญต่องานด้วยเช่นกัน เพื่อให้ความมั่นใจ ได้มาตรฐานการใช้งาน เลือกเหล็กที่มีคุณภาพจาก บริษัท ไวต้า ธานี จำกัด ในการก่อสร้างครั้งต่อไป